เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [16. โสฬสมวรรค] 3. สุขานุปปทานกถา (158)
สก. หากบุคคลอื่นมอบสุขของตน สุขของคนเหล่าอื่น สุขของผู้รับนั้นให้คน
อื่นไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นได้”
สก. บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นทำให้แก่คนอื่น สุขทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคลคนละคนกัน
ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[748] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระอุทายีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระผู้มี
พระภาคทรงกำจัด สภาวธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้
พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมอันเป็นเหตุแห่งสุขเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้
พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย”1 มีอยู่
จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลอื่นจึงมอบสุขให้คนอื่นได้

สุขานุปปทานกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ม.ม. (แปล) 13/149/165

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :793 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [16. โสฬสมวรรค] 4. อธิคัยหมนสิการกถา (159)
4. อธิคัยหมนสิการกถา (159)
ว่าด้วยมนสิการรวบยอด
[749] สก. บุคคลมนสิการรวบยอด1ได้ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นว่า “เป็นจิต” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นว่า “เป็นจิต” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตนั้นเป็นอารมณ์ของจิตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตนั้นเป็นอารมณ์ของจิตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เสวยเวทนานั้นด้วยเวทนานั้น ฯลฯ
จำสัญญานั้นด้วยสัญญานั้น ฯลฯ จงใจเจตนานั้นด้วยเจตนานั้น ฯลฯ คิดจิตนั้น

เชิงอรรถ :
1 มนสิการรวบยอด หมายถึงพิจารณาอารมณ์หลายอย่างได้ในขณะเดียวกัน
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 749-753/285-286)
3 เพราะมีความเห็นว่า ในการพิจารณาอารมณ์ทั้งหลาย บุคคลสามารถพิจารณาอารมณ์หลายอย่างได้ใน
ขณะเดียวกัน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า บุคคลไม่สามารถพิจารณาอารมณ์หลายอย่างได้ใน
ขณะเดียวกัน แต่สามารถพิจารณาอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งได้ ส่วนอารมณ์อื่น ๆ ที่เหลือสามารถ
พิจารณาได้โดยนัย (อภิ.ปญฺจ.อ. 749-753/285-286)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :794 }